เคล็ดลับการเงินที่น่าสนใจ | ใช้บัตรเครดิตยังไงไม่ให้เดือดร้อน
×

ใช้บัตรเครดิตยังไงไม่ให้เดือดร้อน


การใช้บัตรเครดิตในประเทศไทยได้แพร่หลาย และเติบโตอย่างรวดเร็วมากที่ในปีนี้ คาดว่าจะมีบัตรเครดิตใช้กันอยู่ประมาณ 12-14 ล้านบัตร และในอนาคตก็จะเพิ่มบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร และบัตรเครดิตน้ำมันสำหรับแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ และสามารถใช้สินเชื่อดังกล่าวอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพหมายถึงการที่ใช้เครดิตเพื่อสร้างรายได้ให้งอกเงย เช่นนำไป ซื้อปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ หรือปัจจัยการผลิตอื่น ๆมาเพื่อทำการผลิตและเมื่อขายผลิตได้ ก็มีเงินชำระคืนสินเชื่อที่ใช้ผ่านบัตรเครดิตเหล่านั้น แต่ถ้าหากนำไปใช้ในการบริโภคที่ใช้แล้วหมดไป บัตรเครดิตเหล่านั้นก็จะนำความเดือดร้อนของผู้ถือบัตรได้ ตามที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่เสมอซึ่งผู้ถือบัตรเครดิตพึงระลึกอยู่เสมอ ว่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตนั้นเป็นการเอาเงินในอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน ซึ่งในที่สุดแล้วจะต้องชำระคืนหนี้เมื่อครบกำหนด

บัตรเครดิตมีประโยชน์สำหรับแทนการถือเงินสดจำนวนมาก ๆ ไว้กับตัว หรือถือเงินสดในการเดินทางต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกฉกชิงวิ่งราวหรืออาจสูญหายได้ สำหรับผู้มีบัตรเครดิตก็สะท้อนความมีเครดิตทางการเงิน ดังนั้นจึงควรรักษาเครดิตที่มีอยู่ด้วยการใช้อย่างชาญฉลาด ซึ่งในวันนี้ก็ขอฝากข้อคิดสำหรับการใช้บัตรเครดิตดังนี้

บัตรเครดิตหลายใบไม่ดีนะ

  1. ไม่ควรจะถือบัตรเครดิตมากกว่า 2 ใบ จากกรณีศึกษาปัญหาหนี้สินของประเทศเกาหลีใต้และหลาย ๆ ประเทศพบว่าผู้ที่มีบัตรเครดิตมากกว่า 4 ใบขึ้นไปจะมีแนวโน้มเกิดปัญหาหนี้ ทั้งนี้เพราะการมีบัตรเครดิตจำนวนมาก ก็จูงใจให้เกิดการใช้จ่ายที่เกินตัว สำหรับผู้ที่ไม่มีวินัยทางการเงินที่มีความอยากได้สินค้า ที่มากเกินกว่ารายได้ของตนเองและทำให้มีปัญหาหนี้สิน ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะสมัครบัตรเครดิตต่าง ๆ จำนวนมาก แม้ว่าจะได้รับข้อเสนอจากสถาบันการเงินหรือห้างร้านทั้งหลาย ที่มีการเชิญชวนเป็นสมาชิกบัตรด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรน
  2. แม้ว่าจะมีบัตรเครดิตมากกว่าจำนวนหนึ่งใบ แต่ก็ควรจะพกพาบัตรเครดิตไว้เพียงครั้งละใบ สำหรับการใช้ที่จำเป็นเท่านั้น เพราะการพกพาบัตรเครดิตหลายใบหากเกิดการสูญหาย ก็จะเป็นความเดือดร้อนในการแจ้งอายัดบัตร หรือต้องรับผิดชอบต่อบัตรที่ถูกแอบอ้างนำไปใช้
  3. การใช้จ่ายบัตรเครดิตทุกครั้ง ควรที่จะกันสำรองด้วยการหักเงินสดไว้ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ เมื่อครบกำหนดถูกเรียกเก็บเงิน ถ้าหากจะให้ดีแล้ว ควรที่จะมีการลงบันทึกรายจ่ายบัตรเครดิต เป็นรายสัปดาห์และรายเดือนด้วยเพื่อเป็นการเตือนให้รู้ว่า การใช้จ่ายนั้นเกินรายได้ที่มีอยู่หรือเปล่า เป็นลักษณะเดียวกันกับการทำบัญชีบันทึกค่าใช้จ่ายรายเดือน
  4. การถือเงินสดจำนวนหนึ่งสำหรับการใช้จ่าย เพราะการใช้จ่ายด้วยเงินสดก็จะเป็นการเตือนตนเองถึงเงินที่มีอยู่จริง เพราะการมีบัตรเครดิตจะทำให้คนเรามีความรู้สึกว่ายังมีเงิน (สด)อยู่ จึงจูงใจให้มีการใช้จ่าย และก็มีผลการศึกษาของผู้บริโภคชาวอเมริกัน ที่พบว่าผู้ที่ถือบัตรเครดิตมีแนวโน้มใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 12-18%
  5. หลีกเลี่ยงการประวิงระยะเวลาของการชำระเงินของบัตรเครดิตออกไป เพราะเมื่อไรที่เริ่มไม่ชำระเงินบัตรเครดิตเต็มจำนวน แต่ชำระคืนเพียงเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระแล้ว เป็นสัญญาณเริ่มต้นของการมีปัญหาแล้วที่จะต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน
  6. ห้ามโดยเด็ดขาดในการเบิกเงินสดจากบัตรเครดิต เพื่อไปชำระหนี้บัตรเครดิตที่ครบกำหนด เพราะเริ่มกระบวนการของแชร์ลูกโซ่ของวงจรหนี้ เพราะการเบิกเงินสดจากบัตรเครดิต จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงถึงประมาณร้อยละ 20 หากเกิดปัญหาควรเลิกใช้บัตรเครดิต และขอเจรจาประนอมหนี้ หรือการผ่อนชำระคืนสำหรับบัตรเครดิตเหล่านั้นโดยทันที ซึ่งหมายถึงการต้องมีแผนบริหารจัดการเงิน ที่จะต้องลดค่าใช้จ่ายลงมา ฟังดูแล้วคล้าย ๆ กับการแก้ไขปัญหาหนี้ของหลาย ๆ ประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และหากปฏิบัติได้ ท่านก็จะเป็นผู้ที่ใช้บัตรเครดิตอย่างผู้ที่มีเครดิตค่ะ

ติดต่อทำประกันกับตัวแทนผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง

เพราะการให้ข้อมูลการทำประกันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และมีรายละเอียดเยอะ คนทั่วไปอ่านแล้วตีความหมายได้ยาก หรืออาจคลาดเคลื่อน
เพื่อป้องกันปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นภายหลัง ทีมงานเราจึงมุ่งเน้นให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง บริการหลังการขายสม่ำเสมอต่อผู้ทำประกันทุกท่าน



เสกสรร ฉัตรพัฒนพงศ์ (เสก)
ใบอนุญาต: 6001036740
พื้นที่ : กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
E-mail : A064813@ktaxa.com


ติดต่อทำประกันกับตัวแทน
ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง

เพราะการให้ข้อมูลการทำประกันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และมีรายละเอียดเยอะ คนทั่วไปอ่านแล้วตีความหมายได้ยาก หรืออาจคลาดเคลื่อน เพื่อป้องกันปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นภายหลัง ทีมงานเราจึงมุ่งเน้นให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง บริการหลังการขายสม่ำเสมอต่อผู้ทำประกันทุกท่าน

เสกสรร ฉัตรพัฒนพงศ์ (เสก)
ใบอนุญาต: 6001036740
A064813@ktaxa.com
พื้นที่ : กทม. และปริมณฑล

BKKCARE- ©2017 - ตัวแทนประกันชีวิตกรุงไทยแอกซ่า โทรศัพท์ : 02-739-9332
ประกันสุขภาพดี.com | ประกันออมทรัพย์.com | ประกันตลอดชีพ.com | rentcondobkk.com | https://www.scancondo.com
BKKCARE- ©2017
ตัวแทนประกันชีวิตกรุงไทยแอกซ่า
โทรศัพท์ : 02-739-9332
มือถือ : 090-2995614