BKKCARE | 31 ประกันจับมือ ปฏิวัติระบบชำระเงิน
×

31 ประกันจับมือ ปฏิวัติระบบชำระเงิน

31 ประกันจับมือ ปฏิวัติระบบชำระเงิน


บริษัทประกันภัยรถยนต์ 31 บริษัท ได้ร่วมลงนาม ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทประกันภัย ผ่านระบบสารสนเทศ หรือ อี-รีโคเวอรี่ (E-Recovery) เมื่อปลายเดือน มี.ค. 2560 นับเป็นการปฏิวัติระบบการชำระเงิน ระหว่างบริษัทครั้งใหญ่ในวงการประกันภัยไทย

สุปรัชญา ปานแก้ว คณะทำงานเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทประกันภัย ชมรมสินไหมยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่าการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทประกันภัย ผ่านระบบสารสนเทศ หรือระบบ อี-รีโคเวอรี่ (E-Recovery)ริเริ่มโดยบริษัท ประกันคุ้มภัย ที่ร่วมกับ บริษัท วิริยะประกันภัย เมื่อปี 2555 โดยทั้งสองบริษัทได้เริ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลการรับประกันภัย ในการตรวจสอบความคุ้มครอง กรณีที่ลูกค้าของ 2 บริษัทเกิดการชนกัน เมื่อดำเนินการจัดซ่อมรถให้ลูกค้าแล้ว แต่ละฝ่ายจะมีการจัดส่งเอกสาร เรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัทคู่กรณีผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จากเดิมที่ต้องใช้พนักงานนำส่งเอกสารไปที่บริษัท หรือส่งแฟกซ์ หรือส่งเป็นจดหมาย ต่อมา ได้มีการนำระบบดังกล่าวมา ใช้กับเงื่อนไขสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน หรือน็อกฟอร์ น็อก ในกรณีลูกค้าที่ซื้อประกันภัยชั้น 1 เกิดอุบัติเหตุรถชนกัน "ในปี 2558 มีบริษัทประกันภัยเพิ่มเป็น 5 แห่ง ที่มีการตกลงกันในการใช้ระบบอี-รีโคเวอรี่ ทำให้ยอดการเรียกร้องระหว่างกัน 17,806 ครั้ง และเพิ่มเป็น 22,340 ครั้งในปี 2559" สุปรัชญา กล่าว

ล่าสุด เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2560 บริษัทประกันวินาศภัย 31 บริษัท ได้ร่วมลงนามใช้ระบบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทประกันภัยผ่านระบบสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยให้ได้รับข้อมูลความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ช่วยในการลดขั้นตอนและลดระยะเวลาในการตรวจสอบข้อมูลระหว่างกัน โดยเฉพาะการช่วยลดระยะเวลาในการดำเนินการและปิดเรื่องได้เร็วขึ้น สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทั้งที่เป็นฝ่ายถูกและฝ่ายผิด สามารถใช้ตรวจสอบข้อมูลการรับประกันภัยที่ไม่เข้าสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน หรือน็อกฟอร์น็อกได้

ด้าน พันธ์เทพ ชัยปริญญา ประธานชมรมสินไหมยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทประกันภัยผ่านระบบสารสนเทศ จะช่วยลดเอกสารที่เป็นกระดาษ ลดขั้นตอนการทำงาน ทำให้เกิดความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และการทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะแต่ละขั้นตอนจะมีระยะเวลาให้ดำเนินการ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทประกันภัยทั้ง 31 แห่ง สามารถลดต้นทุนในการทำงาน และมีประสิทธิภาพในการจัดการสูงขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น เดิมแต่ละบริษัทต้องใช้เอกสารในการดำเนินงานยื่นเรื่องเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างกัน 5-6 ใบ/ลูกค้า 1 ราย อาทิ ใบเสนอราคาค่าซ่อม ใบสั่งซ่อม ใบค่าซื้ออะไหล่ ใบค่าแรงการซ่อม ใบอนุมัติการจ่าย เอกสารแต่ละอย่างจะต้องถ่ายสำเนาไว้เพื่อนำไปยื่นที่บริษัทคู่กรณีด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การส่งแฟกซ์ การส่งจดหมาย หรือให้พนักงานนำไปส่ง ทำให้บางครั้งอาจเกิดการสูญหายระหว่างทาง ต้องกลับมาดำเนินการจัดทำเอกสารขึ้นมาใหม่ สำหรับระบบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทประกันภัยผ่านระบบสารสนเทศ จะทำการสแกนเอกสารเข้าระบบคอมพิวเตอร์และส่งออนไลน์ไปยังบริษัทคู่กรณี และตอบรับอนุมัติผ่านออนไลน์ หากคู่กรณีต้องการเอกสาร ก็ดำเนินการพรินต์ออกมาเก็บไว้ และเมื่อระบบอี-เพย์เมนต์ หรือระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเกิดขึ้น ก็สามารถโอนเงินเข้าบัญชีระหว่างกันได้เลย

"วิธีนี้ช่วยลดต้นทุนด้านกระดาษได้ทันที บางบริษัทที่มีลูกค้าจำนวนมากสามารถประหยัดได้เดือนละ 1 แสนบาท หรือปีละกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนรวมของบริษัทลดลงด้วย ชดเชยกับค่าซ่อมที่สูงขึ้น โดยปี 2559 ที่ผ่านมา ค่าสินไหมทดแทนทั้งระบบเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 10-11% การใช้ระบบนี้จะทำให้บริษัทประกันอยู่ได้ ไม่ต้องขึ้นราคาเบี้ยรถยนต์" พันธ์เทพ กล่าว

พันธ์เทพ กล่าวว่า ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างกันนี้ แต่ละบริษัทจะมีการตกลงกันว่าจะเรียกร้องกับใคร เช่น บริษัท เอ ตกลงจะทำการเรียกร้องกับบริษัท บี ในวงเงินไม่เกิน 3 หมื่นบาท หากสูงกว่านี้ก็ไปใช้ระบบการเรียกร้องผ่านช่องทางอื่น

สำหรับวงเงินในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างกันนี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับไม่เกิน 3 หมื่นบาท เพราะอิงสถิติค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่เกิดอุบัติเหตุของลูกค้า 50% จะอยู่ในเงินไม่เกิน 3 หมื่นบาท อย่างไรก็ตาม บางบริษัทอาจตกลงวงเงินกันสูงถึง 1 แสนบาท ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนของลูกค้า อานนท์ วังวสุ อดีตนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทประกันวินาศภัยมีการนำดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็น มืออาชีพมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังนำมาใช้ในการพัฒนาระบบการให้บริการ กำหนดราคาเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม มากกว่าการแข่งขันด้านราคา เพราะราคาแข่งขัน กันรุนแรงมากอยู่แล้ว ประกอบกับภาครัฐมีการออกประกาศมาให้บริษัทประกันภัยให้ส่วนลดต่างๆ มากมาย หากยังไปแข่งด้านราคากันอยู่อาจมีผลต่อฐานะการเงิน ทั้งนี้ การที่ 31 บริษัทประกันภัยรถยนต์ หันมาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทประกันภัยผ่านระบบสารสนเทศ ถือว่าเป็นการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก และคาดว่าจะทำให้บริษัทประกันภัยต่างๆ สามารถ เข้าสู่ระบบการขายประกันผ่านออนไลน์เต็มรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

ข่าวอื่นๆ


คปภ.แนะทำประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี
คปภ.แนะผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต ใช้หลักฐานการชำระเบี้ยประกันภัย ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ประกันชีวิตเกิน 10 ปี ลดสูงสุด 100,000 บาท
คนนั่งแคปหรือท้ายกระบะ ประกันภัย ยันคุ้มครองทุกราย
ไม่มีผลต่อ ประกันภัยรถยนต์ ทั้งความคุ้มครองและเบี้ย ประกันภัย ยึดตามประเภทรถ พ.ร.บ.ขนส่งทางบก ครอบคลุมผู้ประสบภัย
เผยลูกค้าประกันเมินรับเงินคืน3แสนรายมูลค่า500ล้าน
กองทุนประกันชีวิตเผยลูกค้าไม่มารับเงินคืน 3 แสนราย มูลค่า 500 ล้าน เหตุไม่ทราบสิทธิ เตรียมพัฒนาระบบตรวจสอบออนไลน์
31 ประกันจับมือ ปฏิวัติระบบชำระเงิน
บริษัทประกันภัยรถยนต์ 31 บริษัท ได้ร่วมลงนาม ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทประกันภัย ผ่านระบบสารสนเทศ ...

รับตารางผลประโยชน์

mail-1
ปี เดือน


ติดต่อทำประกันกับตัวแทนผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง

เพราะการให้ข้อมูลการทำประกันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และมีรายละเอียดเยอะ คนทั่วไปอ่านแล้วตีความหมายได้ยาก หรืออาจคลาดเคลื่อน
เพื่อป้องกันปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นภายหลัง ทีมงานเราจึงมุ่งเน้นให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง บริการหลังการขายสม่ำเสมอต่อผู้ทำประกันทุกท่าน



เสกสรร ฉัตรพัฒนพงศ์ (เสก)
ใบอนุญาต: 6001036740
พื้นที่ : กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
E-mail : A064813@ktaxa.com


ติดต่อทำประกันกับตัวแทน
ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง

เพราะการให้ข้อมูลการทำประกันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และมีรายละเอียดเยอะ คนทั่วไปอ่านแล้วตีความหมายได้ยาก หรืออาจคลาดเคลื่อน เพื่อป้องกันปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นภายหลัง ทีมงานเราจึงมุ่งเน้นให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง บริการหลังการขายสม่ำเสมอต่อผู้ทำประกันทุกท่าน

เสกสรร ฉัตรพัฒนพงศ์ (เสก)
ใบอนุญาต: 6001036740
A064813@ktaxa.com
พื้นที่ : กทม. และปริมณฑล

BKKCARE- ©2017 - ตัวแทนประกันชีวิตกรุงไทยแอกซ่า โทรศัพท์ : 02-739-9332
ประกันสุขภาพดี.com | ประกันออมทรัพย์.com | ประกันตลอดชีพ.com | rentcondobkk.com | https://www.scancondo.com
BKKCARE- ©2017
ตัวแทนประกันชีวิตกรุงไทยแอกซ่า
โทรศัพท์ : 02-739-9332
มือถือ : 090-2995614